บ้านมินิมอลสไตล์โมเดิร์น
บ้านมินิมอลสไตล์โมเดิร์น บ้านโมเดิร์นสองชั้น ซ่อนตัวในป่าไม้ ในการปรับที่ดินสำหรับการเตรียมพร้อมจะสร้างบ้าน บางครั้งไม่จำเป็นที่จะต้องลบทุกอย่างให้เตียนโล่งเสมอไป อย่างบ้านหลังนี้ที่เลือกที่จะตัดทอนต้นไม้ที่มีอยู่เดิมออกแค่เพียงบางส่วน และเลือกที่จะปูทับด้วยพรมหญ้าสีเขียวเป็นการชดเชย ส่วนนอกเหนือไปจากนั้น เจ้าของบ้านปล่อยให้ต้นไม้ใหญ่หลากหลายต้นเป็นเจ้าของอาณาบริเวณเสียทั้งหมด ทำให้ไม่ต้องเสียเวลามาปลูกต้นไม้ใหม่ แถมยังได้ร่มเงาและลดอุณหภูมิความร้อนที่จะพาดผ่านเข้ามาได้อย่างน้อย 5 องศาเซลเซียส ทำให้บ้านโมเดิร์นที่อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องการระบายความร้อนนั้น สามารถกำจัดจุดอ่อนข้อนี้ออกไปได้โดยปริยาย แถมยังมีการเพิ่มพื้นที่สำหรับการระบายน้ำฝนบนผิวดินโดยการใช้ประโยชน์จากที่่ดินที่เป็นที่เนินได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วย
ออกแบบ : In Situ Studio
ภาพถ่าย : Richard Leo Johnson / Atlantic Archives
เนื้อหา : บ้านไอเดีย
เหนือพื้นดินลาดชั้นปรากฎบ้านสไตล์โมเดิร์นโทนสีเข้มแต่ดูสงบอย่างเด่นชัด มุมมองจากนอกบ้านให้ความรู้สึกทันสมัย แบ่งส่วนของสีโทนเข้มและโทนอ่อนได้อย่างลงตัว โรงจอดรถสีเข้มถูกปิดอย่างเงียบสงบ เหนือขึ้นไปปรากฎทางเดินกรุด้วยกระจกขุ่นดูแปลกตาแต่ว่าน่าสนใจ ทางเข้าบ้านเรียบง่ายด้วยการยกระดับขั้นบันไดเล็กน้อยก่อนจะต้อนรับด้วยประตูไม้บานกว้าง
แสงสว่างอ่อนๆจากไฟสีส้มที่เล็ดลอดออกมาจากภายในบ้านให้ความรู้สึกอบอุ่นนุ่มนวล ตัวบ้านใช้รูปทรงเรขาคณิตเรียบง่ายในการประกอบส่วนความสวยงาม ตกแต่งผนังด้วยวัสดุปูน เหล็ก และไม้
หลังบ้านหันหน้าออกไปทางทิศเหนือ ได้รับการออกแบบเป็นลานโล่ง ลาดเอียงตามความชันของพื้นที่ดิน รอบบริเวณบ้านไร้รั้วแต่โอบล้อมด้วยสีเขียวเข้มของสนามหญ้านอกบ้าน ปูด้วยกระเบื้องแผ่นหินสีอ่อนและเว้นที่ให้กรวดหินสร้างจังหวะที่พอเหมาะพอดี ทำให้นอกบ้านมีความชุ่มชื่นไม่แห้งแล้งด้วยวัสดุมากจนเกินไป จัดผังบ้านให้เป็นรูปทรงตัว L ปิดล้อมลานด้านหลังและเก็บงำช่วงเวลาส่วนตัวของภายในบ้านได้อย่างมิดชิดและสงบ
ภายในโอ่งโถงด้วยการปล่อยให้ชั้นล่างเป็นห้องโล่ง จัดวางด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่บ่งบอกถึงการใช้งานเท่าที่จำเป็น ห้องครัว ห้องนั่งเล่น และโต๊ะกินข้าว อยู่ในลักษณะรูปตัว L รอบด้านใช้บานกระจกใสปิดล้อมทำให้รู้สึกอิสระเพราะว่าสามารถเชื่อมต่อถึงภายนอกด้วยมุมมองทางสายตาได้ ตกแต่งภายในในสไตล์ Modern ที่ไม่เน้นความเยอะ แต่จัดวางในพื้นที่ที่เหมาะสมกับการใช้งาน โทนสีเทา-น้ำตาลอ่อน ทำให้บรรยากาศภายในบ้านดูอบอุ่นและทันสมัยได้อย่างง่ายดาย
ส่วนครัวตกแต่งด้วยโทนสีเทา-ขาว ไม่จัดจ้านแตกต่างจากภาพรวมของภายในบ้านมากนัก ใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่ทันสมัย มีความหรูหรา ความมันวาวจากท็อปบาร์ส่องไสวด้วยการสะท้อนจากไฟเกลียวสไตล์โมเดิร์น เช่นเดียวกับตู้เก็บของด้านหลังที่ให้สีขาวสว่าง ช่วยให้ภายในบ้านโปร่งและโอ่อ่า ด้านข้างเป็นบันไดเชื่อมไปสู่ชั้นสอง มองเห็นทัศนียภาพภายนอกอย่างชัดเจน บ้านสไตล์นอร์ดิกชั้นเดียว
การออกแบบเป็นไปตามความลาดชันของพื้นที่ดิน แต่ละส่วนใช้ช่องว่างของกระจกในการเชื่อมต่อในตำแหน่งที่พอเหมาะ เป็นจุดเด่นที่แตกต่างของบ้านหลังนี้ ด้านท้ายที่สุดของที่ดินลาดต่ำ จึงออกแบบให้เป็นทางระบายน้ำสำหรับระบายในวันฝนตก
บันไดคือไฮไลท์ที่สร้างความแปลกใหม่ให้กับบ้านเลยก็ว่าได้ บันไดถูกจัดให้อยู่ส่วนหน้าบ้านแนบชิดกับสวน กั้นด้วยกระจกขุ่นมองไม่เห็นภายนอกและปิดซ่อนความเป็นส่วนตัวภายในโดยไม่สูญเสียความสว่างมากเท่าไร ช่องกระจกบันได (รวมไปถึงช่องกระจกบนส่วนของชั้นสอง) สถาปนิกให้ชื่อว่า den ที่สามารถมองลอดและรับแสงได้อย่างพอดิบพอดีถูกจังหวะ
ส่วนผสมของความมืดและสว่างถูกประกอบส่วนกันอย่างพอเหมาะ ทำให้ภายในห้องน้ำไม่ทึบและแจ้งจนเกินไป นอกจากนั้นยังใช้กระจกขุ่นในการช่วยสร้างความมิดชิดโดยที่ไม่สร้างความอึดอัดไปด้วยอีกแรง
เมื่อผู้บริโภคกลุ่ม New Gen หรือกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 25-39 ปี เริ่มกลายเป็นตลาดใหม่ของบริษัทรับสร้างบ้านอย่างรอแยลเฮ้าส์ ซึ่งเป็นบริษัทรับสร้างบ้านที่มีประสบการณ์มากว่า 30 ปี ซึ่งรอแยลเฮ้าส์ได้เปิดตัวแบบบ้านใหม่ล่าสุด 4 แบบ เป็นแบบบ้านโมเดิร์น มินิมอลลิสต์ โดยแบบบ้านโมเดิร์นที่ว่านี้มีทั้งแบบชั้นเดียว กับสองชั้น ในราคาเริ่มต้นแค่ 3 ล้านบาทไปจนถึง 5 ล้านบาท
โดยแบบบ้านทั้ง 4 แบบคำนึงถึงความเรียบง่าย ลดทอนหรือทิ้งสิ่งที่ไม่จำเป็นภายในบ้านลง ให้ความสำคัญกับฟังก์ชั่นที่เป็นประโยชน์จริงๆ มีขนาดพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 136-423 ตร.ม. ในราคาเพียง 3-5 ล้านบาท สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ นอกจากนี้การออกแบบให้โดนใจ New Gen ที่ผ่านมายังได้พัฒนาแบบบ้านหลายแบบให้โดนใจ New Gen อาทิ แบบบ้านสไตล์ Modern Tropical แบบบ้านสไตล์ Modern Japanese แบบบ้าน Modern Loft ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี รวมถึงแบบบ้านที่เพิ่งเปิดตัว 4 แบบนี้ด้วย
สำหรับแนวทางอื่นๆ ที่มีความสำคัญต่อการสร้างบ้านคือการใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม ลดของเสียในขั้นตอนการก่อสร้างบ้านเพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างบ้านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เริ่มต้นจากการเลือกใช้ใช้วัสดุที่เป็น Green Product อาทิ Easy Truss การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก CPAC ในการนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ ทำให้ล่าสุดบริษัทได้รับรางวัลสร้างบ้าน สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ในงานรับสร้างบ้านและวัสดุ Expo 2019 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่บริษัทที่ใส่ใจในการแก้ปัญหามลภาวะที่เกิดจากการก่อสร้าง หากสนใจแบบบ้านสวยๆ 4 แบบนี้ก็สามารถเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของรอแยลเฮ้าส์ หรือช่องทางโซเชียลต่างๆ
เพราะความรักมากมายที่มีต่อเจ้าฮาชิและเจ้าลูซี่ สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียนและชิสุ ซึ่ง คุณแชมป์ – พีโรรส เปลี่ยนเชาว์ และคุณอิ้ม – พุดตาน มิตรานันท์ เลี้ยงดูเสมือนน้องชายน้องสาว กลายเป็นหนึ่งในแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ตัดสินใจสร้าง บ้านมินิมัลสีขาว หลังนี้ขึ้นมาเพื่อให้น้องๆ มีสเปซกว้างๆ ไว้วิ่งเล่นได้อย่างมีความสุขโดยไม่ต้องอุดอู้อยู่แต่ในห้องพักขนาดพื้นที่จำกัดอีกต่อไป
“เรามองหาที่ดินในทำเลที่ชอบและซื้อทิ้งไว้ร่วม 2-3 ปีกว่าจะมีงบประมาณพร้อมให้วางแผนหาสถาปนิกมาสร้างบ้านกัน ก็พอดีนึกถึงแป๊ก (คุณศตวัชร ขัตลิวงศ์) ซึ่งเป็นเพื่อนเรียนสมัยมหาวิทยาลัย และเราเห็นผลงานเขาทางเพจมาตลอดก็เลยชวนให้มาทำบ้าน เมื่อก่อนเราอยู่ในอพาร์ตเมนต์และเลี้ยงน้องหมาด้วย 2 ตัวจนเริ่มรู้สึกว่าเล็กไป อยากให้น้องมีความสุขมากขึ้นก็เลยคิดสร้างบ้านนี้กัน”
ทั้งคู่มีความต้องการที่ชัดเจนมากไม่ว่าจะด้วยเรื่องไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตคู่แบบไม่มีลูก ความรักในสีเขียวที่สดชื่นของต้นไม้ ความชอบบ้านสีขาวที่เรียบร้อยสะอาดตา และความต้องการสเปซกว้างๆ ให้น้องหมา ทุกอย่างล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญให้สถาปนิกไม่จำเป็นต้องโยนหินถามทาง แต่สามารถออกแบบฟังก์ชันและวางผังของบ้านได้ตรงกับทุกความต้องการมากขึ้น โดยคุณแป๊กเล่าถึงแนวคิดไว้ว่า
“อิ้มกับแชมป์เป็นคู่รักรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ต้องการบ้านหลังใหญ่มาก ด้วยที่ดินขนาด 85 ตารางวาซึ่งแคบแต่ยาวมีหน้ากว้าง 10 เมตร ยาว 34 เมตร พอเรากำหนดระยะถอยร่นกับช่องเปิดไปอีก ทีนี้ก็จะเหลือหน้ากว้างแค่ 6 เมตรสำหรับตัวบ้าน จากทิศทางของแสงและลม ผมเลือกวางบ้านส่วนอาศัยให้อยู่ทางทิศเหนือเป็นหลัก หน้าบ้านหันไปทางทิศใต้ มีที่จอดรถไว้ข้างหน้าพร้อมกับสวนทางเดินยาวๆ ก่อนเข้าถึงตัวบ้าน และวางห้องน้ำกับบันไดไว้ทางทิศตะวันตกเป็นตัวรับแดดกับป้องกันความร้อนไม่ให้เข้าถึงโถงนั่งเล่นด้านใน รวมถึงห้องนอนที่จะได้แสงยามเช้า จากนั้นก็เย็นสบายตลอดโดยไม่ต้องเปิดแอร์ทั้งวัน
“ตรงที่เดิมนี้เคยมีต้นลำไยอยู่ตรงกลางด้วย จริงๆ ผมอยากเก็บไว้แต่ดูแล้วมันขวางทางก็เลยเอาออก แต่ทั้งคู่ชอบต้นไม้มากๆ และมีโจทย์ว่าตื่นมาอยากเห็นต้นไม้ด้วย ซึ่งแชมป์ก็อยากมีห้องนอนอยู่บนชั้น 2 จากที่ผมคิดว่าจะออกแบบเป็นบ้านชั้นเดียวก็เลยเปลี่ยนเป็นบ้านสองชั้นโดยวางแมสอาคารซ้อนกันระหว่างข้างบนกับข้างล่าง ให้มีมิติความหนาของกำแพงและเจาะช่องเปิดให้โปร่งตา แล้วแทรกคอร์ตสำหรับปลูกต้นไม้เป็นสวนในบ้านไว้ถึง 3 คอร์ต ด้วยช่องเปิดที่กว้างเต็มที่นี้ทำให้ลมหมุนเวียนผ่านได้ตลอดรอบบ้าน และมีมุมที่ต้นไม้สูงขึ้นไปถึงห้องนอนชั้น 2 ได้เลย”
เมื่อภายในเปิดโล่งขนาดนี้ รั้วใหญ่หน้าบ้านจึงจำเป็นต้องออกแบบให้ค่อนข้างปิดเพื่อบังสายตาจากภายนอกแต่ใช้โทนสีขาวที่เข้ากับตัวบ้านด้านใน แล้วเปลี่ยนจากสวนหน้าบ้านแบบทั่วไปมาเป็นสวนด้านในเพื่อให้เข้าถึงและใช้งานได้เต็มที่ ระหว่างที่จอดรถกับตัวบ้านจึงมีทางเดินยาวๆ พร้อมกับแทรกพื้นที่สีเขียวกับสวนหินด้านข้างไว้เพื่อปรับอารมณ์การเข้าถึงบ้านให้ผ่อนคลายราวกับกำลังเดินเข้าสู่วิลล่าสวยๆ