คู่มือแบบ บ้านโชว์อิฐ

คู่มือแบบ บ้านโชว์อิฐ ถ้าพูดถึงไอเดียเลือกผนังอิฐก่อโชว์แนว เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงอิฐโบราณ และการตกแต่งสไตล์ลอฟท์ แต่ความจริงแล้วการตกแต่งผนังด้วยอิฐแดงนั้น มีรูปแบบที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดของอิฐแดงที่ใช้ในการตกแต่ง และการออกแบบ ซึ่งวันนี้พี่อิฐจะมาแชร์ไอเดียว่าอิฐที่ใช้ตกแต่งผนังมีชนิดไหนบ้าง วิลล่าภูเก็ต และแต่ละชนิดก่อแล้วจะออกมาเป็นสไตล์ไหน ให้คุณได้เห็นภาพกันชัด ๆ

คู่มือแบบ บ้านโชว์อิฐ

คู่มือแบบ บ้านโชว์อิฐ ที่ใช่ ได้สไตล์ผนังที่ชอบ

จุดเริ่มต้นของบ้านเกิดจากจุดเล็ก ๆ อย่าง “อิฐ” ซึ่งเป็นองค์ประกอบและวัสดุพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังงานก่อผนัง ที่มีเท็กซ์เจอร์และเสน่ห์ไม่แพ้ผนังแบบอื่นเลย Phuket Villa

WHITE BRICK HOME สะท้อนความเป็นเวียดนามผ่านการปิดทึบและเปิดโล่งในจังหวะที่ลงตัว

WHITE BRICK HOME

นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม เป็นเมืองที่มีการจราจรคับคั่งเต็มไปด้วยรถจักรยานยนต์ กลุ่มควันที่หนาแน่นทำให้ผู้คนเริ่มอยากออกมาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตชานเมืองที่มีอากาศบริสุทธิ์กันมากขึ้น เช่นเดียวกับ คุณ Le Canh Van เจ้าของบ้านหลังนี้ ที่ตัดสินใจสร้าง บ้านอิฐบล็อก หลังใหม่ของครอบครัว เพื่อสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติในแบบที่เขาเลือกเอง

บ้านหลังนี้อยู่ห่างจากทะเลเพียงแค่ 30 กิโลเมตรในเขตมหานครที่มีสนามบินของตัวเอง ท่ามกลางอากาศที่สดชื่นและเพื่อนบ้านที่เป็นมิตร

“เราอยู่กันแบบครอบครัว มีทั้งพ่อแม่และลูก ๆ ผมจึงอยากได้บ้านที่ดูทันสมัยแต่รู้สึกสบาย และอยากให้มีธรรมชาติอยู่รอบ ๆ บ้าน” เจ้าของบ้านเล่าถึงจุดเริ่มต้นการออกแบบบ้านหลังนี้ ก่อนจะแนะนำให้รู้จักเพื่อนของเขา คือ คุณ Dang Huy Cuong เจ้าของบริษัท i.House Architecture and Construction บ้านสไตล์มินิมอล สถาปนิกที่ปั้นไอเดียของเขาให้เป็นจริง เมื่อถึงเวลาที่เริ่มโปรเจ็กต์บ้านหลังนี้ เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สถาปนิกต้องการย้ายฐานที่ตั้งบริษัทมาอยู่ในโฮจิมินห์ จากแค่ออกแบบบ้านให้เพื่อน จึงกลายเป็นการออกแบบออฟฟิศของตัวเองร่วมด้วย

บนพื้นที่หน้ากว้าง 5 เมตร ลึก 15 เมตร สถาปนิกตัดสินใจออกแบบบ้าน 3 ชั้น ให้เปิดคอร์ตกลางบ้านเป็นลานโล่งเพื่อปลูกต้นไม้ใหญ่ภายในบ้าน ปล่อยให้มีแสงแดดเข้ามาอย่างเป็นธรรมชาติ และระบายอากาศได้ดีตามความต้องการของเจ้าของบ้าน

ด้านหน้าอาคารภายใต้ฟาเซดซีเมนต์บล็อกกับแพตเทิร์นการจัดเรียงแบบปิดทึบ เราจะเห็นสีเขียวของต้นไม้แทรกตัวออกมาจากช่องสี่เหลี่ยมสีขาวบนชั้นสอง ส่วนด้านล่างในจุดที่ดูคล้ายโรงรถออกแบบเป็นออฟฟิศขนาดเล็ก แบ่งสัดส่วนพื้นที่การใช้งานและเส้นทางสัญจรไว้อย่างลงตัว

ประตูไม้สีน้ำตาลออกแดงบานใหญ่ทางขวามือเปิดต้อนรับเราสู่ตัวบ้าน เราเดินผ่านทางเดินแคบ ๆ ที่นำไปสู่โถงกลางบ้าน จากความรู้สึกปิดทึบจนเกือบอึดอัดกลับกลายเป็นความสว่าง โปร่งโล่งอย่างฉับพลัน สถาปนิกได้ปล่อยให้พื้นที่ 1 ใน 3 ของบ้านเป็นโถงบันไดสูง 3 ชั้นจนถึงหลังคาสกายไลท์เปิดให้แสงแดดทอดเงาผ่านโครงสร้างและเส้นสายอาคารลงมา จนเกิดแพตเทิร์นที่เคลื่อนไหวตามทิศทางของแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลาของวัน

การปิดทึบด้านหน้าและการเปิดโล่งเพื่อรับแสงแดดจากด้านบนนี้เป็นหนึ่งในการออกแบบที่สะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานสไตล์เวียดนาม กล่าวคือโครงสร้างอาคารเป็นแบบแน่นหนาปิดทึบ เพื่อรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ซึ่งเป็นผลมาจากความหวาดกลัวภายหลังสงครามที่มีมายาวนานหลายสิบปี วิลล่าในป่าตอง ในขณะที่การเปิดพื้นที่กลางบ้านเพื่อรับแสงและมีคอร์ตสวนเล็ก ๆ อยู่ตรงกลาง ก็เป็นหนึ่งในสิ่งตกทอดของสถาปัตยกรรมแบบจีนหรือ Chinese Courtyard House ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

EXTRAORDINARY BRICK HOUSE บ้านอบอุ่นในกล่องอิฐ – คู่มือแบบ บ้านโชว์อิฐ

EXTRAORDINARY BRICK HOUSE

จุดเริ่มต้นของบ้านเกิดจากจุดเล็ก ๆ อย่าง “อิฐ” ซึ่งเป็นองค์ประกอบและวัสดุพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังงานก่อผนังและใช้ในการตกแต่ง

“Brick House” คือบ้านที่เราจะพาคุณมาเยี่ยมชมกันในวันนี้ เป็นบ้านที่ก่อขึ้นด้วยอิฐทั้งหลัง แค่เห็นแวบแรกก็ประทับใจสุด ๆ ดูราวกับเป็นบ้านเท่ ๆ ในต่างประเทศอย่างไรอย่างนั้น ซึ่งเป็นของครอบครัวสวัสดิ์วงศ์ โดยเราได้พบกับ คุณอู๋ – ปิติ สวัสดิ์วงศ์ นักลงทุนทางการเงิน เจ้าของบ้านผู้มีบุคลิกนิ่ง ๆ เขาออกมาต้อนรับเราอย่างยิ้มแย้ม พร้อมเล่าเรื่องราวความเป็นมาของบ้านอิฐสุดเท่ของเขาให้ฟังว่าก่อสร้างมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

“เริ่มจากช่วงน้ำท่วมในปี 2554 ครอบครัวเราโดนผลกระทบจากน้ำท่วมแบบจัดเต็ม บ้านเราเป็นบ้านชั้นเดียวน้ำท่วมถึงเข่า ส่วนปากซอยก็ท่วมถึงเอว พอน้ำลดบ้านเละมาก ทีแรกคิดจะรีโนเวตบ้านใหม่ โครงการบ้านภูเก็ต แต่สุดท้ายสมาชิกในครอบครัวก็โหวตกันพร้อมกับลงความเห็นว่าควรสร้างใหม่และยกพื้นให้สูงขึ้น”

ช่วงแรกก่อนสร้างบ้าน คุณอู๋เริ่มต้นตามหาสถาปนิกจากการไปเดินงานสถาปนิกที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยหาข้อมูลบริษัทรับออกแบบจากนิทรรศการภายในงาน โดยเลือกรูปแบบบ้านจากสไตล์ที่ชอบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสไตล์เรียบง่าย โชว์เสน่ห์สัจวัสดุ มีรูปทรงเรขาคณิตอย่างลอฟต์ มินิมัล และอินดัสเทรียล

โดยมีบริษัทรับออกแบบ 2 แห่งเป็นตัวเลือกอยู่ในใจ แล้วนำมาปรึกษาที่บ้าน สุดท้ายสมาชิกทุกคนก็โหวตเป็นเสียงเดียวกันให้กับบริษัท Junsekino Architect and Design ของ คุณจูน เซคิโน สถาปนิกลูกครึ่งไทย – ญี่ปุ่น ที่มีสไตล์การออกแบบเป็นเอกลักษณ์ มารับหน้าที่ถ่ายทอดความต้องการจนเกิดเป็นบ้านสุดเท่หลังนี้ขึ้น

คุณอู๋เล่าว่าอยากได้บ้านที่มีความเป็นส่วนตัว นอกจากนี้เขายังมีส่วนร่วมในการออกไอเดีย โดยการนำอิฐมากรุเป็นผนังสลับทึบและโปร่งด้วย

“ตัวอย่างบ้านที่ผมส่งให้คุณจูนดูเป็นเรเฟอเรนซ์บ้านทรงกล่องสี่เหลี่ยม ส่วนการใช้อิฐเป็นสิ่งที่คุณจูนนำเสนอนอกเหนือจากคอนกรีตพิมพ์ลายและไม้ แต่ในที่สุดครอบครัวเราก็เลือกอิฐเพราะดูแล้วเป็นความรู้สึกที่ใช่ที่สุด”

เมื่อเข้ามาถึงตัวบ้านเราสัมผัสได้ถึงความเป็นส่วนตัวเหมือนที่คุณอู๋เล่าให้ฟังจริง ๆ สังเกตได้จากตำแหน่งช่องเปิดที่ออกแบบให้มีความเหมาะสมตอบสนองฟังก์ชันการใช้งานตามที่เจ้าของบ้านต้องการ มีทั้งความสวยงามและความสัมพันธ์ของสเปซและดีไซน์ตามคอนเซ็ปต์ที่สถาปนิกออกแบบไว้

ด้านเทคนิคการก่อสร้าง บ้านอิฐหลังนี้มีสองเลเยอร์เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว บ้านและสวน ผนังอิฐที่หนาถึง 30 เซนติเมตร ใช้เป็นผนังกันความร้อน อีกทั้งอิฐยังมีข้อดีช่วยให้บ้านเย็นทั้งวัน นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงความรู้สึกผูกพันกับบ้านหลังเก่าด้วยการนำไม้กลับมาใช้ใหม่ด้วย

TRY OUT LOUD บ้านทดลองของสองเรา

TRY OUT LOUD

เกือบชั่วโมงหลังฝ่าการจราจรและตึกรามบ้านช่องอันแออัดใจกลางนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม สู่ปลายทางย่านชานเมืองซึ่งได้รับการจัดสรรและพัฒนาเป็นเขตชุมชนใหม่ ดังจะเห็นได้จากบ้านทีกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างไม่เว้นแต่ละซอย จนเราต้องมาสะดุดตากับบ้านสีเอิร์ธโทนของสองสามีภรรยาแห่ง MM++ Architects ออฟฟิศสถาปนิกที่กำลังมาแรงในเวียดนาม ที่มีความแตกต่างจากบ้านทั่วไป

เจ้าของบ้านหลังนี้ คือ คุณ Michael Charruault ทรีดีกราฟิกดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศสผู้เป็นสามี และภรรยา คุณ My An Pham Thi อินทีเรียร์ดีไซเนอร์สาวชาวเวียดนาม ทั้งคู่ตั้งใจออกแบบบ้านหลังนี้ขึ้น ไม่เพียงแค่ทำเป็นโฮมออฟฟิศ แต่ยังเป็นบ้านที่มีการทดลองเทคนิคการก่อสร้างสนุก ๆ ลงไปด้วย

“50% indoor : 50% outdoor” เป็นคอนเซ็ปต์หลักที่ออฟฟิศแห่งนี้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ถ่ายทอดผ่านตัวบ้านได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ก้าวแรกที่เดินเข้ามา ชั้นล่างสุดจัดวางตั่งรับแขกขนาดยักษ์ ส่วนรับประทานอาหารเปิดออกอย่างอิสระทั้งสามด้านแบบไม่มีอะไรมาขวางกั้นบรรยากาศสระน้ำและสวนสีเขียวด้านนอก Pool ตอบโจทย์เรื่องการระบายอากาศได้อย่างดี ส่วนด้านความปลอดภัยก็ไม่ต้องกังวล เพียงดึงประตูเหล็กม้วนลงมากั้นพื้นที่ส่วนครัวก็สามารถปิดบ้านได้อย่างมิดชิดแล้ว

“เราต้องการสื่อสารกับลูกค้าว่า ดีไซน์เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ถ้าเราวางแผนและออกแบบอย่างดีก็จะเกิดผลพลอยได้ทั้งความสวยงามและเหมาะสมกับการอยู่อาศัยของแต่ละครอบครัว อย่างตรงนี้จะเห็นว่าการอยู่อาศัยในพื้นที่เปิดโล่งก็มีความปลอดภัยได้เช่นกัน”

นอกจากการทดลองกับตัวสถาปัตยกรรมแล้ว งานดีเทลก็เป็นอีกเรื่องที่ทั้งสองให้ความสนใจ เช่น กำแพงบ้านเกิดจากการหล่อปูนโดยนำไม้ไผ่มาเป็นแม่พิมพ์ เกิดพื้นผิวแปลกตารับกับต้นไผ่เพรียวสูงที่ปลูกชิดกับแนวกำแพง พื้นปูนชั้นล่างทดลองผสมปูนกับหินที่มีความละเอียดต่างกันเพื่อสังเกตผลที่ตามมา รวมถึงการมุงหลังคาใบปาล์มตากแห้งทับหลังคาคอนกรีตสแล็บ ก็เป็นการผสมผสานวัสดุสองประเภทได้อย่างลงตัวเหลือเชื่อ

อ่านต่อเพิ่มเติม: Pool Villas Pasak . sale villa . Phuket Villa. Pool Villa. พูลวิลล่าภูเก็ต. โครงการบ้านภูเก็ต. บ้านจัดสรร. พูลวิลล่าภูเก็ต ราคาถูก. ซื้อวิลล่าภูเก็ต