แนวทางก่อนการเริ่ม ต่อเติมบ้าน

แนวทางก่อนการเริ่ม ต่อเติมบ้าน หลายๆคนคงจะเคยได้ยินข่าวความเสียหายจากการต่อเติมบ้านกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นบ้านทรุด , การแตกร้าว หรือ น้ำรั่วซึม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ของการอยู่อาศัยเลยทีเดียว สำหรับใครที่กำลังจะต่อเติมบ้านแล้วคิดว่าต่อเติมนิดๆหน่อยๆคงไม่เป็นอะไรมากนั้น บ้านจัดสรร วันนี้เรามีบทความเกี่ยวกับข้อควรระวังต่างๆในการต่อเติม รวมถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายและโครงสร้าง เพื่อให้บ้านของเราเมื่อต่อเติมไปแล้วนั้นไม่มีปัญหาบานปลาย

แนวทางก่อนการเริ่ม ต่อเติมบ้าน

แนวทางก่อนการเริ่ม ต่อเติมบ้าน ไม่ให้มีปัญหาตามมา

การตัดสินใจต่อเติมบ้านถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยมีความรู้ในด้านนี้เท่าใดนัก การตัดสินใจเปลี่ยนแปลง ทุบ รื้อและเสริมต่อใหม่ด้วยความคิดตัวเองเพียงอย่างเดียว โดยไม่เข้าใจถึงระบบโครงสร้างของตัวบ้านก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายตามมาได้

โดยเฉพาะอาการทรุด แตกร้าวและตามมาด้วยการพังทลายของส่วนต่างๆ ภายในบ้านจนทำให้ได้รับบาดเจ็บได้ เพราะฉะนั้น ก่อนการต่อเติมบ้านให้สวยหรูอย่างที่ต้องการ วิลล่าในป่าตอง คุณจึงไม่ควรมองข้ามข้อมูลและคำแนะนำต่างๆ ที่ควรได้รับจากผู้เชี่ยวชาญและวิศวะกรเพื่อความมั่นใจในการต่อเติมที่มั่นคงและถูกต้องตามหลักการก่อสร้างมากที่สุด

ข้อควรรู้การต่อเติมบ้าน

ข้อควรรู้การต่อเติมบ้าน – แนวทางก่อนการเริ่ม ต่อเติมบ้าน

 การต่อเติมบ้านนั้น หลายคนมักคิดว่าการต่อเติมโครงสร้างใหม่โดยฝากติดกับตัวบ้านเดิมเพียงเล็กน้อย ไม่น่าจะมีปัญหา อะไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว การออกแบบโครงสร้างของบ้าน  หากผู้ออกแบบไม่ได้เผื่อน้ำหนักและโครงสร้างสำหรับการต่อเติมไว้เมื่อต่อเติมไปแล้วอาจพบปัญหาการแตกร้าว รั่วซึม บ้านวิลล่าภูเก็ต หรือบางครั้งก็ทรุดตัวไปมากจนต้องทุบทิ้ง อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงเรื่องข้อกฎหมายในการต่อเติมอีกด้วย

ก่อนการดำเนินการใดๆ ในการต่อเติมต้องมีการตรวจเช็คโครงสร้างเดิมก่อน โครงการบางที่อาจมีการก่อสร้างตัวบ้านบนที่ดินที่เคยเป็นแหล่งน้ำมาก่อน ทำให้มีการทรุดตัวของพื้นดินบริเวณนั้น หรือกรณีที่ไม่มีการทรุดตัวก่อนการต่อเติม แต่ภายหลังการต่อเติมอาจจะมีเกิดการทรุดตัวเกิดขึ้นก็ซึ่งนั้นหมายถึงต้องมีการเตรียมตัวไว้ให้พร้อม จึงจำเป็นต้องมีการตรวจเช็คโครงสร้างตัวบ้าน และพื้นที่โดยรอบตัวบ้านไว้ล่วงหน้านั้นเอง

ในการต่อเติมโครงสร้างใหม่นั้นส่วนมากมักใช้เสาเข็มที่มีขนาดเล็กหรือสั้นกว่าตัวบ้านเดิม เนื่องจากไม่สามารถนำปั่นจั่นเข้าไปตอกเข็มขนาดใหญ่ได้ จึงทำให้เกิดการทรุดตัวที่แตกต่างกัน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือรอยต่อระหว่างสองอาคารแยกเริ่มร้าวและแยกออกจากกันทำให้เกิดปัญหา เรื่องน้ำฝนรั่ว ผนังร้าวต่างๆ ตามมา ดังนั้นเมื่อมีการต่อเติมควรแยกโครงสร้างใหม่ออกจากโครงสร้างเก่าอย่างเด็ดขาด

หากต้องการขยายห้องให้กว้างขึ้น สิ่งที่ไม่ควรทำคือ การเชื่อมคานยื่นออกไปจากคานเดิม แต่ควรทำคานขึ้นมาใหม่สำหรับรับพื้น หลายคนอาจจะสงสัยว่าหากทำอย่างดี มั่นคงแข็งแรงแล้วทำไมถึงทำไม่ได้ เหตุผลคือ การถ่ายน้ำหนักของโครงสร้างที่ทำขึ้นใหม่ เมื่อน้ำหนักถ่ายเทลงเสาเข็ม เสาเข็มก็จะทรุดตัว ซึ่งอาคารเดิมที่สร้างมาก่อนการทรุดตัวของเสาเข็ม อาจจะคงที่ ไม่ทรุดลงหรือทรุดตัวน้อยมาก ดังนั้นการทรุดตัวของโครงสร้างใหม่ที่ไม่เท่ากับโครงสร้างเดิมก็จะทำให้เกิดการแตกร้าวกันได้

เหตุผลหลักของการทรุดตัวของเสาเข็มที่ไม่เท่ากัน คือความยาวของเสาเข็มของโครงสร้างเดิม กับเสาเข็มใหม่ อาจไม่สามารถใช้เสาเข็มความยาวเท่าเดิมได้ ทั้งไม่สามารถเข้าตอกเสาเข็ม วิลล่าภูเก็ต หรือใช้วิธีทำเข็มเจาะ แต่เนื่องจากระยะเวลาที่ต่างกัน ทำให้การทรุดตัวไม่เท่ากัน

ปรึกษาวิศวกรสักนิดก่อนคิดต่อเติม

ปรึกษาวิศวกรสักนิดก่อนคิดต่อเติม  – แนวทางก่อนการเริ่ม ต่อเติมบ้าน

การต่อเติมบนโครงสร้างเดิม จะต้องให้วิศวกรทำการตรวจสอบฐานรากและโครงสร้างเดิมว่าสามารถรับน้ำหนักในการต่อเติมได้หรือไม่ และเพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้น ควรเลือกวัสดุที่ใช้ต่อเติมเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา เช่น ใช้โครงสร้างส่วนต่อเติมเป็นโครงสร้างเหล็ก หรือใช้ผนังเบา เป็นต้น

แต่ที่ขอแนะนำคือ อย่าคิด หรือตัดสินใจเองว่า การต่อเติมนิดหน่อย เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้งานอีกเพียงเล็กน้อยและไปผูกยึดติดกับโครงสร้างเดิมของบ้านไม่เป็นไรนั้น เป็นความคิดที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายตามมาในภายหลัง เพราะโครงสร้างบ้านเดิมโดยทั่วไปผู้ออกแบบจะคำนวณน้ำหนักของตัวบ้าน จำนวนคนที่จะเข้าอยู่อาศัย จำนวนเฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ  เพื่อกำหนดขนาดของเสาเข็มและฐานรากที่เป็นส่วนสำคัญในการรับน้ำหนักทั้งหมดของตัวบ้าน

ซึ่งขนาดเสาเข็มส่วนใหญ่สำหรับบ้านพักอาศัยในเขตกรุงเทพฯ นั้น จะนิยมใช้เสาเข็มรูปตัว I ที่มีความยาว 12, 14, 16, 18, 21 เมตร แล้วแต่สภาพของดินในแต่ละพื้นที่ โครงการบ้านภูเก็ต โดยสำหรับโครงการบ้านพฤกษา จะใช้เข็มขนาด I (0.18×0.18) ยาว 15 เมตร ซึ่งตามหลักทางวิศวกรรมนี้บ้านพักอาศัยจะสามารถคงอยู่ได้อย่างถาวร โดยมีการทรุดตัวตามธรรมชาติเล็กน้อย แต่ไม่ทำให้ถึงกับแตกร้าวให้เห็นอย่างชัดเจน

  ดังนั้นจะเห็นว่าเขาไม่ได้มีการคำนวณบวกภาระการรับน้ำหนักที่จะมีการต่อเติมต่าง ๆ เผื่อเอาไว้ด้วย จึงมักปรากฏปัญหาอยู่บ่อย ๆ สำหรับบ้านที่ต่อเติมโดยไม่ได้ปรึกษาวิศวกร จะมีปัญหาบ้านร้าว หรือทรุด หรือฝนตกแล้วเกิดการรั่วซึม ตามมา และท้ายสุดส่งผลเสียหายต่อตัวบ้านเดิม จนต้องรื้อทุบใหม่หมด ไม่คุ้มเลยครับ เพราะส่วนใหญ่ที่ทำการต่อเติมใหม่นั้นทำโดยไปต่อเชื่อมกับตัวบ้านเดิม และมักใช้เสาเข็มขนาดเล็กหรือสั้นกว่าตัวบ้านเดิม 

ทำให้เกิดการทรุดตัวที่แตกต่างกันของตัวบ้านเดิมและส่วนที่ต่อเติมใหม่ ส่งผลให้บริเวณรอยต่อระหว่างทั้ง 2 ส่วนจะเริ่มแตกร้าวและแยกส่วนออกจากกัน กรณีที่เสียหายมาก ๆ ก็คือหากส่วนต่อเติมที่มีโครงสร้าง เช่นเสาหรือคานเชื่อมต่อกับตัวบ้านเดิมไว้ พอส่วนต่อเติมทรุดลงก็จะไปดึงโครงสร้างอาคารเดิมทรุดตามลงมาด้วย กรณีเช่นนี้ต้องทุบรื้อหรือตัดส่วนต่อเติมให้ขาดออกไปอย่างรวดเร็ว ก่อนที่บ้านเดิมจะเสียหากมากตามไปด้วย

คิดจะต่อเติมบ้าน ควรศึกษากฎระเบียบข้อบังคับ

คิดจะต่อเติมบ้าน ควรศึกษากฎระเบียบข้อบังคับ ให้ถ่องแท้ – แนวทางก่อนการเริ่ม ต่อเติมบ้าน

ทุกวันนี้คงยากจะปฏิเสธ สำหรับกลุ่มคนที่เลือกซื้อบ้าน และต้องการต่อเติมบ้านเพิ่มเติม ที่ไม่เพียงแค่คิดแล้วจะลงมือทำได้เลย เพราะหากเกิดปรับเปลี่ยนสุ่มสี่สุ่มห้าอาจได้รับความผิดตั้งแต่ถูกปรับไม่เกิน 60,000 บาท จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับได้ หากไม่ได้ขออนุญาต เช่นเดียวกับผู้อาศัยคอนโด ดังนั้นจึงควรศึกษากฎระเบียบข้อบังการก่อสร้างตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารก่อน ซึ่งได้ระบุรายละเอียดที่สำคัญต่าง ๆ ดังนี้

– หากโครงสร้างอาคารเกิดชำรุด ตามสภาพ วันเวลา เช่น ผุ กร่อน จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ โดยที่วัสดุเป็นรูปแบบและขนาดเท่าเดิม ไม่จำเป็นต้องขอนุญาต แต่ถ้าเป็นจำพวกคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านโครงการใหม่ เกิดเป็นสนิม หากมีการเปลี่ยนใหม่ จำเป็นต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น (เขต หรืออำเภอ) โดยต้องแจ้งชื่อวิศวกร สถาปนิก และแปลนที่จะต่อเติมเปลี่ยนแปลง

– อยากต่อเติม เพิ่ม ลด เปลี่ยนประตู กระเบื้องใหม่ หรือ อยากเจาะช่องระบายอากาศ โดยไม่เกิน 5 ตารางเมตร ถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต

– เกิดต้องการอยากเปลี่ยนรูปแบบบ้าน เช่น ทุบสร้างใหม่ หรืออยากเปลี่ยนผนังจากแบบธรรมดา ให้เป็นกันความร้อน ต้องขออนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนทุกครั้ง

ลงมือต่อเติมได้ แต่ผู้รับเหมาสร้างปัญหา ทำอย่างไร

ลงมือต่อเติมได้ แต่ผู้รับเหมาสร้างปัญหา ทำอย่างไร

ปัญหาที่หลายคนต่างพากันปวดหัว เมื่อได้รับอนุญาตให้ต่อเติมได้ แต่กับโดนผู้รับเหมาเบี้ยวงาน ไม่มาทำให้เสร็จ ทั้งที่วางมัดจำ จ่ายเงินไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กรณีดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาได้ โดยจ้างผู้รับเหมารายใหม่ให้มาดำเนินการต่อ แต่หากค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณตามที่ตกลงผู้รับคนเก่าไว้ สามารถฟ้องร้องเอาเงินส่วนต่างจากผู้รับเหมาที่ก่อเหตุได้ โดยมีอายุความ 10 ปี แต่ถ้าเป็นกรณีฟ้องผิดสัญญาจ้าง จะมีอายุความ 2 ปี

หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น จะเอาผิดใคร

หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น คานบ้านถล่ม หรือตึกสั่น หากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นจริง สามารถเอาผิดกับผู้รับเหมา หรือเจ้าของโครงการได้ตามสัญญาซื้อขายที่ระบุไว้ Pool โดยมีหน้าที่รับผิด แก้ไข เยียวยา ผลดังกล่าว และหากเป็นกรณีที่ไม่สามารถอยู่อาศัยได้เลย ผู้อยู่อาศัยสามารถยกเลิกสัญญาซื้อขาย หรือสัญญาว่าจ้าง (กรณีต่อเติมกับผู้รับเหมา) ได้ โดยที่ผู้รับเหมาหรือผู้ขาย เจ้าของโครงการจะต้องชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด โดยใช้สิทธิจากศาลตามระยะเวลาของอายุความคือ 1 ปี นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น

ตั้งงบประมาณ  การต่อเติมหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบ้าน

เมื่อทำการวางแผนเสร็จเรียบร้อย ให้เพื่อนๆ ทำการตั้งงบประมาณหรือกำหนดแบบคราวๆ ว่าจะมีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ และ ต้องจ่ายในสิ่งใดบ้าง เพื่อที่จะได้มีการเตรียมตัว จัดสรรในค่าใช้จ่ายต่างๆ  แต่ทั้งนี้ ก็ควรที่จะมีเงินสำรอง เพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

อ่านต่อเพิ่มเติม: Pool Villas Pasak . sale villa . Phuket Villa. Pool Villa. พูลวิลล่าภูเก็ต. โครงการบ้านภูเก็ต. บ้านจัดสรร. พูลวิลล่าภูเก็ต ราคาถูก. ซื้อวิลล่าภูเก็ต

  • Related Posts

    ไอเดียแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่น เรียบง่าย ผ่อนคลาย ดูน่าอยู่

    เจาะลึกเทคนิคแต่งบ้านสไตล์ญี่ป…

    อัปเดต ที่พักนครนายก ติดน้ำ

    อัปเดต ที่พักนครนายก ติดน้ำ ไห…

    You Missed

    ไอเดียแต่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่น เรียบง่าย ผ่อนคลาย ดูน่าอยู่

    • สิงหาคม 16, 2024
    • 140 views

    บ้านมินิมอลสไตล์โมเดิร์น

    • กรกฎาคม 29, 2024
    • 167 views
    บ้านมินิมอลสไตล์โมเดิร์น

    บ้านสไตล์นอร์ดิกชั้นเดียว

    • กรกฎาคม 11, 2024
    • 257 views
    บ้านสไตล์นอร์ดิกชั้นเดียว

    บ้านโมเดิร์นทรงกล่อง ชั้นเดียว

    • มิถุนายน 29, 2024
    • 236 views
    บ้านโมเดิร์นทรงกล่อง ชั้นเดียว

    บ้านตัวแอล โมเดิร์น

    • มิถุนายน 22, 2024
    • 240 views
    บ้านตัวแอล โมเดิร์น

    บ้านชั้นเดียวสไตล์ มูจิ ญี่ปุ่น

    • มิถุนายน 7, 2024
    • 303 views
    บ้านชั้นเดียวสไตล์ มูจิ ญี่ปุ่น