บ้านเดี่ยวสไตล์นอร์ดิกพร้อมโรงรถ

บ้านเดี่ยวสไตล์นอร์ดิกพร้อมโรงรถ บ้านเดี่ยว ซึ่งบ้านเดี่ยวถือเป็นบ้านในฝันของใครหลาย ๆ คน เพราะเป็นบ้านที่มาพร้อมกับพื้นที่รอบบ้าน มีความเป็นส่วนตัว พื้นที่ใช้สอยมาก สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ ภายนอก และภายใน ตัวบ้านได้ตามใจ โดยนอกจากคำว่าบ้านเดี่ยวจะเป็นชื่อเรียกที่ได้ยืนกันจนคุ้นหูแล้ว

บ้านเดี่ยวยังเป็นประเภทบ้าน ที่ถูกระบุไว้ตามพระราชบัญญัติ บ้านจัดสรรด้วยว่า บ้านเดี่ยวคือบ้านที่จะต้องสร้างอยู่บนที่ดินขนาดตั้งแต่ 50 ตารางวาขึ้นไป โดยจะต้องมีการเว้นระยะห่างของ ตัวบ้านทุกด้านไม่ต่ำกว่า 2 เมตร หากบ้านที่ไม่ใช่ลักษณะดังกล่าวนี้ จะไม่เรียกว่าบ้านเดี่ยวนั่นเอง

แบบที่ 1 บ้านสไตล์นอร์ดิก พร้อมโรงรถ

บ้านเดี่ยวสไตล์นอร์ดิกพร้อมโรงรถ

เอกลักษณ์ของ บ้านสไตล์นอร์ดิก นอกจากเรื่องเส้นสายทรงจั่ว แนวสูงแล้วเท่านั้น ยังมีการเติมเต็ม การอยู่อาศัยด้วยอิงแอบความ เป็นธรรมชาติรอบด้าน ทั้งเรื่องแสงสว่าง เรื่องลม และเรื่องของวัสดุที่นำมาให้ เพื่อให้บ้านเกิดบรรยากาศที่แสนผ่อนคลาย มีความเป็นฟาร์มนิด ๆ และมีความเท่หน่อย ๆ ซึ่งนับเป็นอีกสไตล์ ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

บ้านหลังคาผสมทรงจั่วด้านบน และทรงแบนด้านล่าง คือรูปแบบของการผสมผสานกลิ่นอาย ของความนอร์ดิกให้เข้ากับสไตล์โมเดิร์นได้อย่างลงตัว เห็นได้ว่าเส้นสาย ที่แสนเรียบง่ายดูคุ้นตา เมื่อมาอยู่ร่วมกันกลับสร้างมิติใหม่ รวมถึงสร้างความสมดุลไม่ให้บ้านสูงจนเกินไป และขณะเดียวกัน ก็ไม่ทำให้เกิดรูปฟอร์มที่แข็งเกินไปด้วยเช่นกัน

ด้านหน้าที่ยื่นออกมาประมาณ 3 – 4 เมตร จัดสรรให้เป็นส่วนของโรงจอดรถในตัว หลังคาแบน เสาเหล็กหุ้มไม้ เปิดผนังโปร่ง ๆ ไม่ให้อาคารดูทึบตันจนเกินงาม ผนังส่วนหนึ่งกรุด้วยวัสดุไม้ตามแนวตั้ง สีน้ำตาลโทนสว่าง ทำให้บ้านมีความอ่อนโยนขึ้นอีกระดับหนึ่ง

กั้นโซนเพื่อเปลี่ยนความรู้สึก ระหว่างโรงจอดรถกับตัวบ้าน มีการเว้นพื้นที่สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ไว้สำหรับจัดสวนแคคตัส โรยพื้นด้วยหินสีขาว เลือกต้นไม้ฟอร์มสวย รูปทรงแปลกตามาปลูก เหมือนสร้างปฏิมากรรมน้อย ๆ โดยธรรมชาติให้กับบ้าน นอกจากจะได้ความสดชื่นแล้ว สวนลักษณะนี้ยังดูแลง่าย ไม่ยุ่งยาก เหมาะกับคนที่ไม่มีเวลาเป็นอย่างมาก

บ้านเดี่ยวสไตล์นอร์ดิกพร้อมโรงรถ

เปิดมุมมองภายในตรงผนังที่อยู่ ตำแหน่งตรงกันสวนหย่อมด้วยบานกระจกใส ตีตารางเป็นกรอบสี่เหลี่ยม 12 กรอบ รับแสงสว่างจากภายนอกให้ เข้าสู่ภายในตลอดทั้งวัน ส่วนประตูหลักที่ใช้สำหรับ เข้าบ้านอยู่ถัดจากมุมสวนไปอีกไม่กี่ก้าว เลือกให้เป็นประตูบานทึบสีดำเข้ม เพื่อให้ล้อกับพื้นขัดมันสีเทาเงา ๆ

อารมณ์ความสดชื่นจากภายนอกลื่นไหล เข้ามาภายในด้วยการจัดคอร์ทสวนเล็ก ๆ ไว้กลางบ้าน หลังคาในส่วนนี้จึงเปิดโปร่งมุงด้วยวัสดุโปร่งแสง ให้แสงแดดส่องลงมาหล่อ เลี้ยงต้นไม้ให้งอกงามอย่างที่ตั้งใจไว้ พื้นที่สี่เหลี่ยมถูกล้อมรอบด้วยกระจกใส ปิดตายในบางส่วน และมีประตูไว้ออกไปดูแลรดน้ำพรวนดินในบางส่วนด้วย

พื้นในสวนกลางบ้าน เว้นเป็นพื้นดินไว้สำหรับปลูกต้นไม้ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตรงกลางทำการปูพื้น เพื่อให้สามารถออกไปนั่งพักได้อย่างสะดวก เมื่อกลับเข้ามาเท้าจะไม่เลอะกับดิน ไม่ส่งผลให้เกิดความ ยุ่งยากในการทำความสะอาดภายในบ้าน

ห้องครัวสำหรับทำอาหาร ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์สีขาว และสีน้ำตาล อยู่ตรงตำแหน่งที่มองเห็นสวนหย่อมนอกบ้านข้างโรงจอดรถพอดี จึงทำให้ทุกมื้อของการ ทำอาหารมีความเพลิดเพลินมากยิ่งขึ้น ไอซ์แลนด์เตรียม และทำอาหารอยู่กลางห้อง ติดตั้งเครื่องดูดควันไว้เสร็จสรรพ พร้อมพัดลมดูดอากาศบนฝ้าเพดาน ลดการกระจายของกลิ่นและควันไปยังส่วนอื่น ๆ ได้ดี บ้านสไตล์นอร์ดิกพร้อมโรงรถ

บนพื้นที่ชั้นสองมีห้องทำงานอยู่ด้วย จัดไว้ในตำแหน่ง ที่เชื่อมโยงกับระเบียงด้านข้าง แยกส่วนกับห้องนอนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวด้วย ทางเดินกระจกนิรภัยที่โปร่งใส จนมองเห็นทะลุไปจนถึงชั้นล่าง เปิดผนังด้านข้างเป็นกระจกบานใหญ่แบบปิดตาย รับแสงจากทั้งบนหลังคา และระเบียงให้กระจายเข้า สู่ทุกชั้นของบ้านได้อย่างทั่วถึง

ภายในสวยพร้อมความใกล้ชิคธรรมชาติ

ช่องแสงของบ้านเน้น บานกระจกที่ค่อนข้างใหญ่ ไม่เว้นแม้กระทั่งในห้องน้ำ ที่นอกจากจะมีการแบ่งโซนเปียกโซนแห้งด้วยการก่อผนังอย่างมิดชิด ยังมีหน้าต่างกระจกติดไว้ในทั้งสองจุด ลดความอับชื้น และช่วยฆ่าเชื้อโรคไปในตัว

พื้นทางเดินกระจกบนชั้นสอง ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยง พื้นที่ระหว่างบ้าน อีกนัยยะสำคัญคือต้องการกระจายแสงสว่างลงไปยังชั้นล่างได้อย่างทั่วถึง นอกจากความแข็งแรงของ โครงสร้างทางเดินแล้ว ต้องรอบคอบในการเลือกกระจกที่มีคุณสมบัติรับ น้ำหนักได้เป็นอย่างดี ทนทานต่อแรงกระแทก ทนความชื้น ทนไฟ เป็นแผ่นกระจกแบบนิรภัยที่มีความปลอดภัยสูง และต้องง่ายต่อการดูแล ทำความสะอาดด้วย ซึ่งกระจกพื้นทางเดินที่นิยมในปัจจุบัน เช่น พื้นกระจกสำเร็จรูป BSP (Glass Floor) เป็นต้น

แบบที่ 2 บ้านไทยสไตล์นอร์ดิก อยู่อย่างเย็นได้ในเขตร้อน

บ้านไทยสไตล์นอร์ดิก อยู่อย่างเย็นได้ในเขตร้อน

บ้านไทยสไตล์นอร์ดิก อยู่อย่างเย็นได้ในเขตร้อน บ้านสไตล์นอร์ดิกแบบไทย ๆ เทรนด์การดีไซน์หรือตกแต่งบ้าน อาจจะวนกลับมาหรือขยายส่งต่อกันไปได้ และเมื่อรับมาบางครั้งก็ไม่ได้ เอาแนวคิดมาใช้ทั้งหมด แต่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนมุมมอง วัสดุ หรือฟังก์ชันบางอย่าง ให้เข้ากันได้กับสภาพอากาศท้องถิ่น ความต้องการของเจ้าของบ้าน รวมไปจนถึงข้อจำกัดต่าง ๆ อย่างบ้านสไตล์นอร์ดิก ที่กำลังนิยมในบ้านเรา

หากไปดูถึงแหล่งที่มาหน้าตาบ้าน และวัสดุก็คงไม่เหมือนกัน เมื่อมาสร้างในเขตร้อนดีไซน์ ก็จะมีบางอย่างที่เป็นลักษณะเฉพาะขึ้นมา สำหรับเนื้อหานี้เราจะพาไปชม แบบบ้านสไตล์นอร์ดิกประยุกต์ ที่เรียบคม สะดุดตา แต่งด้วยวัสดุลายไม้และใส่การ เล่นระดับให้บ้านใช้งานได้ถูกใจมากขึ้น

บ้านสองชั้นที่เห็นหลังนี้เป็นงาน รีโนเวทบ้านเก่าพื้นที่ 43 ตารางวา พิกัดสายไหม 13 ตัวบ้านมองจากภายนอกแบ่งเป็น 2 อาคารมีส่วนต่อเชื่อมตรงกลาง ความน่าสนใจอยู่ที่ชั้นบนของ แต่ละส่วนหน้าตาไม่เหมือนกัน ด้านหนึ่งหลังคาจั่วไร้ชายคาสไตล์นอร์ดิกหรือ modern barn ส่วนอีกด้านทำหลังคาเพิงหมาแหงน เฉียงสูงลุคโมเดิร์น เพิ่มความรู้สึกอบอุ่นด้วยวัสดุลายไม้ ตัดกับเส้นสายคมๆ ของเหล็กตกแต่งสีดำ

มุมมองจากด้านหน้าบ้าน จะมีหลังคากันสาดยื่นออกมา ข้างหน้าปกป้องบ้านจากแดด ฝน และใช้เป็นโรงรถที่จอดได้ 2 คันสบาย ๆ จากประตูรั้วหน้าบ้านแบ่งพื้นที่โล่งๆ ปูบล็อกตัวหนอนเอาไว้ให้พื้นเรียบร้อยไม่เลอะเทอะ สามารถจัดตกแต่งเป็นมุมนั่งเล่นได้ในอนาคต หรือพื้นที่สีเขียวให้สัมผัสธรรมชาติ สร้างร่มเงาก่อนเข้าถึงตัวบ้าน ผนังบ้านส่วนหน้าบางส่วนก่อด้วยบล็อกช่องลม เปิดช่องว่างรับแสงแดด ลม และสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัว ให้ชั้นล่างโดยที่ยังสังเกตเห็นความเคลื่อนไหวภายนอกได้สบายๆ บ้านเดี่ยว

ในบ้านนี้ไม่ได้มีเพียงแนวคิด การดีไซน์บ้านสไตล์นอร์ดิกที่ เน้นเปิดช่องแสง เพื่อให้สามารถนำแสงสว่าง จากธรรมชาติเข้ามาสู่อาคาร เส้นสายอาคารที่เรียบง่าย โทนสีกลางๆ เน้นสีเทา สีไม้เลียนแบบธรรมชาติเท่านั้น ยังใส่บล็อกช่องลมแบบพื้นถิ่นเขตร้อนชื้น และฝ้าเพดานที่เปลือยโชว์ แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปกลิ่นอายแบบลอฟท์ ที่เข้ากันได้เป็นอย่างดี

บ้านสองชั้น

ลักษณะสถาปัตยกรรม Nordic หรือ Modern Barn เป็นบ้านเขตหนาวที่ได้รับอิทธิพล จากโรงนาแบบไม่มีกันสาด ดังนั้นการยกรูปแบบของนอร์ดิกมาใช้เลย โดยไม่ปรับประยุกต์ให้เข้า กับบริบทของเมืองไทย จะส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่รับแสงจากกระจกบริเวณกว้าง หรือฝนที่อาจจะสาดโดนผนังทำให้เกิดความชื้นสะสมเป็นราได้ง่าย

เจ้าของบ้านจึงควรทำรางน้ำฝน หรือหลังคาซ่อนรางน้ำฝน การทำผนังให้เว้าลึกเข้าไปจากชายคา เล็กน้อยก็จะพอช่วยได้ การเลือกวัสดุผนังที่กันชื้น สีทาภายนอกที่มีคุณสมบัติ กันน้ำทนชื้นมากกว่าผนังปกติ ควรเลือกทิศทางห้องแต่ละห้องให้เหมาะกับทิศทางแสงแดด เป็นต้น